ประวัติกีฬาวอลเลย์บอล

          กีฬาวอลเลย์บอลเริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ๑๘๙๕ โดยนายวิลเลียม จี มอร์แกน (William G. Morgan)
ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. (Young Men's Christian Association) เมืองฮอลโยค
(Holyoke) มลรัฐแมสซาซูเซตส์ (Massachusetts) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้คิดเกมการเล่นขึ้น
เนื่องจากในฤดูหนาวหิมะตกลงมา ผู้คนทั่วไปไม่สามารถเล่นกีฬากลางแจ้งได้ เขาได้พยายามคิดและดัดแปลง

กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นกิจกรรมที่พักผ่อนหย่อนใจ หรือผ่อนคลายความตึงเครียดขณะที่พักผ่อนหย่อนใจ
หรือผ่อนคลายความตึงเครียดขณะที่เขาดูการแข่งขันเทนนิส เขาได้เกิดแนวความคิดที่จะนำลักษณะและวิธีการ
เล่นของกีฬาเทนนิสมาดัดแปลงใช้เล่น จึงใช้ตาข่ายเทนนิสซึ่งระหว่างเสาโรงยิมเนเซียม สูงจากพื้นประมาณ
๖ ฟุต ๖ นิ้ว และใช้บางในของลูกบาสเกตบอลสูบลมให้แน่น แล้วใช้มือและแขนตีโต้ข้ามตาข่ายกันไปมา
แต่เนื่องจากยางในของลูกบาสเกตบอลเบาเกินไป ทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ช้าและทิศทางที่เคลื่อนไปไม่แน่นอน
จึงเปลี่ยนมาใช้ลูกบาสเกตบอล แต่ลูกบาสเกตบอลใหญ่ หนักและแข็งเกินไปทำให้มือของผู้เล่นได้รับบาดเจ็บ
ในที่สุดเขาจึงให้บริษัท A.G. Spalding and Brother Company ผลิตลูกบอลที่หุ้มด้วยหนังและบุด้วย
ยาง มีเส้นรอบวง ๒๕-๒๗ นิ้ว มีน้ำหนัก ๘-๑๒ ออนซ์ หลังจากทดลองเล่นแล้ว เขาจึงตั้งชื่อเกมการเล่นนี้ว่า
"มินโตเนต" (Mintonette)

ปี ค.ศ.๑๘๙๖ มีการประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Spring-field College)
นายวิลเลียม จี มอร์แกน ได้สาธิตวิธีการเล่นต่อหน้าที่ประชุมซึ่งศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Alfred T.
Helstead) ได้เสนอแนะให้มอร์แกนเปลี่ยนจากมินโตเนต (Mintonette) เป็น "วอลเลย์บอล" (Volleyball)
โดยให้ความเห็นว่าเป็นวิธีการเล่นโต้ลูบอลให้ลอยข้ามตาข่ายไปมาในอากาศ โดยผู้เล่นพยายามไม่ให้ลูกบอล
ตกพื้นต่อมากีฬาวอลเลย์บอลได้แพร่หลายและเป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ประชาชนชาวอเมริกันเป็นอย่างมาก
เพราะเป็นเกมที่เล่นง่าย สามารถเล่นได้ตามชายทุ่ง ชายหาด และตามค่ายพักแรมทั่วไป

ปี ค.ศ ๑๙๒๘ ดอกเตอร์ จอร์จ เจ ฟิเชอร์ ( Dr.George J.Fisher ) ได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกติกา
การเล่นวอลเลย์บอล เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลในระดับชาติ ซึ่งบุคคลผู้นี้เป็นผู้มีบทบาทอย่างมาก
ในการเผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลจนได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล

 

   กลับหน้าแรก หน้าแรก     หน้าต่อไปถัดไป